รัฐบาลกำลังติดตามสถานการณ์ “แบคทีเรียกินเนื้อ” ในญี่ปุ่น

กรมควบคุมโรค ติดตามสถานการณ์โรค “แบคทีเรียกินเนื้อ” ในประเทศญี่ปุ่นอย่างใกล้ชิด ย้ำว่าไม่ใช่โรคใหม่ มีหลายสายพันธุ์ ในประเทศไทยมีไข้อีดำอีแดง ปี 2567 ไม่พบรายงานผู้ป่วยในประเทศไทย แนะนำให้สังเกตอาการหากมีไข้ เจ็บคอ หรือมีตุ่มหนองที่ผิวหนัง ผื่นที่มีลักษณะคล้ายกระดาษทราย รีบไปพบแพทย์ แบคทีเรียกินเนื้อพบการติดเชื้อเพิ่มขึ้นในประเทศญี่ปุ่น วันนี้ (29 มี.ค.67) โฆษกกรมควบคุมโรค ขอประชาชนอย่าตื่นตระหนก “สเตรปโตคอคคัส ชนิดเอ” เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ไม่ใช่เชื้ออุบัติใหม่ เป็นเชื้อก่อโรคที่มีมานานแล้ว และมีหลายสายพันธุ์ ก่อให้เกิดอาการแสดงของโรคได้หลายรูปแบบตั้งแต่อาการน้อยไปจนถึงมาก และอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ หนึ่งในอาการแสดงของโรค ที่อยู่ในระบบเฝ้าระวังของประเทศไทย เรียกว่า “โรคไข้อีดำอีแดง หรือ Scarlet fever” โรคนี้เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ”สเตรปโตคอคคัส ชนิดเอ” ทำให้เกิดการติดเชื้อของคอหอย ต่อมทอนซิล และระบบทางเดินหายใจ เกิดได้ทุกช่วงอายุ แต่มักเป็นในเด็กวัยเรียน โรคนี้สามารถติดต่อจากคนสู่คนโดยการใกล้ชิดและหายใจรับละอองฝอยของเสมหะ น้ำมูก น้ำลายที่มีเชื้อ หรือละอองเชื้อโรคสัมผัสกับตา จมูก ปาก หรือ สัมผัสผ่านมือ … Continue reading รัฐบาลกำลังติดตามสถานการณ์ “แบคทีเรียกินเนื้อ” ในญี่ปุ่น